พิธีกรรมป้องกันโรคระบาดด้วย “ขึงหนังสุนัข” Keeq khov taw ชนเผ่าอ่าข่า ผู้มีความเชื่อการดำเนินชีวิต ที่ถือเอาจาก กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ ประสบการณ์ อาเพศ และการบัญญัติขึ้นด้วยอำนาจของผู้นำในยุคสมัยอดีต มาบูรณาการใช้เป็นเครื่องมือพิธีกรรม หรือการควบคุม ออกเป็นข้อบัญญัติ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติยึดถือดำเนินชีวิตในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน และสาธารณะ ถึงในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง พิธีกรรมรักษาและป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง โดยใช้สัตว์เลี้ยงตั้งแต่ ไข่ / ไก่ / แมว / หมู / แพะ / ควาย / เป็ด และ สุนัข ซึ่งพบว่าเผ่าพันธุ์อ่าข่า ได้มีระบบการแพทย์ เพื่อรักษา ป้องกันของชนเผ่าใช้ ตั้งแต่ยุคที่ 3 ระหว่าง “คนกับผีแยกทางกัน” ที่เรียกว่า “แหนะ ฉ้อ ก่ออี้เอ่อ” ( Naevq Tsawr Ghawq ir e ) หรือตามลำดับการนับชื่อบรรพบุรุษของคนที่ต่อจาก “ถ่องผ่อง”( Tanq panq) ที่ชื่อว่า “เจ่วถ่องถ่อง” (Dzoeq Tanq Panq) ตั้งแต่ยุคนี้ชนเผ่าอ่าข่าก็มีพิธีกรรมต่างๆ เพื่อรักษาป้องกันโรคระบาดในมนุษย์โดยการใช้สัตว์ประเภทต่างๆ เพื่อรักษาทั้งทางกาย ทางใจ กันแล้ว ซึ่งหากนับย้อนหลัง ก